เป็นหลักสูตรการเรียนแบบผสมผสาน รูปแบบออนไลน์และออนไซด์
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกาชาด
2. มีความรู้และทักษะในการประเมินสถานการณ์และผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง
3.มีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง
4.สามารถขอความช่วยเหลือและส่งต่อผู้บาดเจ็บได้
5.สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้
กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
จำนวน : 20-25 คน / รุ่น
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
1. ผู้ที่มีความสนใจการปฐมพยาบาลอายุระหว่าง 15 - 65 ปี
2. พูด อ่านและเขียนภาษาไทยได้ดี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด (ต้องเข้าเรียนไม่น้อยกว่า 90 %)
4. สามารถใช้งาน Internet / Line / Zoom ได้ดี
5. มี E – mail ส่วนบุคคลเพื่อลงทะเบียนเรียนและรับส่งข้อมูลการอบรม
6. มีไลน์ส่วนบุคคลเพื่อเข้ากลุ่มไลน์ และรับส่งข้อมูลการอบรมในแต่ละรุ่น
7. ดาวน์โหลด Application Zoom เพื่ออบรมผ่านระบบซูมกับทีมวิทยาจารย์
8. การแต่งกายสุภาพในวันที่เข้ารับการอบรมฝึกทักษะปฏิบัติ สามรถสวมกางเกงได้ (ยกเว้นกางเกงยีนส์)งดสวมรองเท้าแตะ
การรับสมัคร : สมัครผ่าน Learning.redcross.or.th
ค่าลงทะเบียน : 2,500.00 บาท / คน รวมอาหารกลางวันและอาหารว่างในวันอบรมภาคปฏิบัติ
รูปแบบการอบรม : แบบผสมผสาน (ออนไลน์ + ออนไซด์)
อบรมภาคทฤษฎี จำนวน 3 วัน เวลา 08.30 – 12.00 น. *สอนสดผ่านซูม มีบันทึกซูมย้อนหลัง*
อบรมภาคปฏิบัติ จำนวน 2 วัน เวลา 08.30 – 12.00 น. *สามารถเข้าอบรมภาคปฏิบัติตลอดระยะเวลาอบรม*
1. อบรมภาคทฤษฎี : ผ่านระบบ Zoom (ผ่านเกณฑ์การทดสอบร้อยละ 60 ขึ้นไป)
หน่วยการเรียนที่ 1 รู้จักกาชาด หลักการปฐมพยาบาล การประเมินการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
หน่วยการเรียนที่ 2 การปฐมพยาบาลภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน
หน่วยการเรียนที่ 3 การปฐมพยาบาลบาดแผลและแผลไหม้
หน่วยการเรียนที่ 4 การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกและข้อและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
หน่วยการเรียนที่ 5 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ (CPR & AED)
หน่วยการเรียนที่ 6 การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในเด็กและทารก (CPR & AED)
หน่วยการเรียนที่ 7 การปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารพิษ พิษจากสัตว์ และสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
2. อบรมภาคปฏิบัติ : ที่ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลฯ (ผ่านเกณฑ์การทดสอบร้อยละ 80 ขึ้นไป)
วันที่ 1 ของการอบรมภาคปฏิบัติ
เวลา |
หัวข้อการฝึกปฏิบัติ |
08.00 – 08.30 น. |
ลงทะเบียน |
08.30 – 09.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 1 : การประเมินผู้บาดเจ็บกรณีรู้สึกตัว |
09.00 – 09.30 น.
09.30 – 10.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 2 : การประเมินผู้บาดเจ็บกรณีหมดสติและการจัดท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ หน่วยการเรียนที่ 2 : การเป็นลม / ช็อก / ชัก 1.สถานการณ์คนเป็นลม (Faint) 2.สถานการณ์คนเป็นลมจากความร้อน (Heat stroke) 3.สถานการณ์คนเป็นลมเนื่องจากการเสียเหงื่อ (Heat exhausted) 4.สถานการณืช็อกจากการเสียเลือด (Hypovolemic shock) |
10.00 – 10. 15 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.15 – 12.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 4 : การเข้าเฝือกแขน 1.ข้อมือหัก 2.แขนท่อนล่างหัก 3.ข้อศอกหัก 4.แขนท่อนบนหัก |
12.00 – 13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 4 : การเข้าเฝือกขาและการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ 1.ขาท่อนล่างหัก 2.การเคลื่อนย้ายท่านอนอด้วยเปลมือ 3.การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลผ้าห่อม 4.การเคลื่อนย้ายโดยใช้เปลประยุกต์ (ไม้พลอง) |
14.00 – 14.30 น. |
หน่วยการเรียนที่ 3 : การใช้ผ้าพันแผล (ผ้าสามเหลี่ยม) 1.ห้ามเลือดที่แขนและการป้องกันภาวะช็อก 2.ห้ามเลือดที่ศีรษะ 3.การห่อมือ |
14.30 – 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14.45 – 16.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 3 : การใช้ผ้าพันแผล (ผ้าม้วนยืด) 4.การพันเกลียวและรูปเลขแปด (Basic) 5.ห้ามเลือด 6.วัตถุปักคา 7.อวัยวะถูกตัดขาด 8.ข้อมือเคล็ด 9.ข้อเท้าเคล็ด |
วันที่ 2 ของการอบรมภาคปฏิบัติ
เวลา |
หัวข้อการฝึกปฏิบัติ |
08.00 – 08.30 น. |
ลงทะเบียน |
08.30 – 09.20 น. |
หน่วยการเรียนที่ 5 : การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ |
09.20 – 09.40 o. |
หน่วยการเรียนที่ 6 : การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในเด็ก |
09.40 – 10.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 6 : การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในทารก |
10.00 – 10.30 น. |
หน่วยการเรียนที่ 6 : การสำลักสิ่งแปลกปลอมในผู้ใหญ่และทารก (Choking) |
10.30 – 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 – 12.00 น. |
หน่วยการเรียนที่ 7 : การปฐมพยาบาเมื่อถูกงูกัด หน่วยการเรียนที่ 4 : การเคลื่อนย้ายท่านั่งด้วยเปลมือ |
12.00 13.00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 13.30 น. |
แบ่งกลุ่ม เตรียมทดสอบสถานการณ์จำลอง |
13.30 -14.00 น. |
ทดสอบสถานการณ์จำลอง |
14.00 – 15.00 น. |
ทบทวน ซักถามข้อสงสัย ประเมินผลภาคปฏิบัติ |
15.00 – 15.15 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
15.15 – 16.00 น. |
มอบวุฒิบัตร / ปิดการอบรม |
หมายเหตุ : ตารางนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. เรียนทฤษฎีแบบออนไลน์สอนสด โดยผ่านระบบ Zoom Application ร่วมกับทีมวิทยาจารย์ จำนวน 3 วัน เวลา 08.30 - 12.00 น. โดยลิ้งค์เข้า Zoom จะส่งแจ้งเตือนใน ไลน์กลุ่ม ก่อนเข้ารับการอบรมล่วงหน้า 1- 2 วัน ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมต้องสอบทฤษฎีผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 60 (7 วิชา) จึงจะสามารถเข้ารับการอบรมภาคปฏิบัติได้ (ฝึกทักษะ)
2. อบรมภาคปฏิบัติ (ฝึกทักษะ) ที่ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลฯ จำนวน 2 วัน เวลา 08.30 - 16.00 น. โดยผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบร้อยละ 80 จึงจะสามารถรับใบวุฒิบัตรหลักสูตรการปฐมพยาบาลครบตามมาตรฐานได้ ผู้เข้าอบรมต้องเข้าเรียนตลอดระยะเวลาอบรม
หมายเหตุ : เมื่อผู้เข้ารับการอบรมลงทะเบียนสมัครเข้ารับการอบรมในแต่ละรุ่นแล้ว สามารถศึกษาวิดีโอทักษะการปฐมพยาบาลได้ในระบบ Learning platform ได้ ทั้งนี้ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลฯ ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก เลียนแบบ ส่วนใดส่วนหนึ่งของวิดีโอของศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลฯ
กำหนดการจัดอบรม ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 4 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ |
รับสมัคร |
อบรมออนไลน์ 3 วัน |
อบรมออนไซด์ 2 วัน |
วิทยากร |
1 |
30 ม.ค. - 12 ก.พ. 66 |
1 – 3 มี.ค. 66 |
7 – 8 มี.ค. 66 |
ศูนย์ฝึกอบรมฯ |
2 |
9 ก.พ. – 26 ก.พ. 66 |
1 – 3 มี.ค. 66 |
9 – 10 มี.ค. 66 |
|
3 |
1 เม.ย. - 30 เม.ย.66 |
22 – 24 พ.ค. 66 |
29 – 30 พ.ค. 66 |
|
4 |
15 เม.ย. - 14 พ.ค. 66 |
22 – 24 พ.ค. 66 |
1 – 2 มิ.ย. 66 |
ภายหลังสมัครเข้ารับการอบรมและชำระค่าลงทะเบียน รุ่นที่ 3 / 2566 เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้ากลุ่มไลน์ตามลิ้งค์นี้ แปะ link gr 3 https://line.me/R/ti/g/ywRbD34B5f
(สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่ลงทะเบียนรุ่นที่ 3 /2566 เท่านั้น)
ภายหลังสมัครเข้ารับการอบรมและชำระค่าลงทะเบียน รุ่นที่ 4 / 2566 เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้ากลุ่มไลน์ตามลิ้งค์นี้ https://line.me/R/ti/g/jbfBG73SfY (สำหรับผู้เข้ารับการอบรมที่ลงทะเบียนรุ่นที่ 4 /2566 เท่านั้น)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 083 - 0299 - 280 ในวันและเวลาราชการ (จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.)