การปฐมพยาบาลกรณีพบผู้บาดเจ็บเปื้อน / สัมผัสยางมะตอย
จะให้การปฐมพยาบาลอย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจ
ร่างกายผู้บาดเจ็บที่เปื้อน ยางมะตอย ( Asphalt / Tar ) ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากยางมะตอยเป็นสารเหนียว หนืด ติดผิวหนังแน่น และอาจร้อนเมื่อเพิ่งหกราดลงมา
#อันดับแรก ประเมินความปลอดภัยของผู้ช่วยเหลือก่อน ระวังการสัมผัสกับยางมะตอยเพราะอาจมีความร้อนจะทำให้เกิดแผลไหม้ ( Burn )
หลังจากนั้น ประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บ ถ้ายางมะตอยมีความร้อน ควรใช้น้ำราดผิวหนัง เปิดน้ำไหลรินเพื่อทำให้อุณหภูมิลดลงให้เร็วที่สุด เนื่องจากยางมะตอยที่อมความร้อนอาจมีอุณหภูมิสูงได้ถึง 1,000 องศาเซลเซียส ดังนั้นเมื่อสัมผัสผิวหนังจะทำให้เกิดการไหม้อย่างรุนแรง ทำลายผิวหนังได้ลึก ลักษณะเดียวกับแผลไหม้
การใช้น้ำราดบนผิวหนังที่เปื้อนยางมะตอย จะทำให้ยางมะตอยแห้งแข็ง สามารถนำออกได้ง่ายกว่าตอนที่ยังเหนียว
#นอกจากนี้ กรณีพบยางมะตอย สัมผัสผิวหนังเล็กน้อยไม่มีแผลเปิด1.ใช้สารละลายไขมัน ( เช่น ) • น้ำมันพืช ( น้ำมันมะพร้าว / น้ำมันพาราฟิน ) • เบบี้ออยล์ หรือวาสลีน • ไม่ควรใช้สารทำละลายแรง ๆ เช่น ทินเนอร์ หรือน้ำมันเบนซิน2. ทาน้ำมันให้ชุ่มบริเวณที่ติดยางมะตอย3. นวดเบาๆ และใช้ผ้าสะอาดถูเบาๆ เพื่อคลายยางออกจากผิวหนัง4. ทำซ้ำจนกว่ายางจะหลุดออก5. ล้างผิวด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด6. เช็ดให้แห้งและตรวจสอบสภาพผิว
กรณีมีแผลเปิดหรือแผลไหม้ร่วมด้วย • อย่าพยายามล้างยางมะตอยออก • ให้ปิดคลุมบริเวณนั้นด้วยผ้าก๊อซที่ชุบน้ำสะอาด • ส่งต่อแพทย์ทันที • โทร 1669
ข้อควรระวัง • ห้ามใช้ ทินเนอร์ น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน หรือแอลกอฮอล์ เพราะระคายเคืองผิวและทำให้ผิวไหม้ • ห้ามขูดหรือใช้แรงเสียดสีมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวหนังถลอก • ถ้ามีการกลืนหรือสูดดมยางมะตอย → ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล
#ขอบคุณข้อมูล : เพจห้องฉุกเฉินต้องรู้ ( นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา )#สภากาชาดไทย#FirstAid #HealthCare #Training#ดูให้รู้จำไว้ใช้ทุกชีวิตปลอดภัย
โพสต์โดย จันจิรา สุขพงษ์
3 ก.ค. 2568 14:56 34 views 0 ซิฟิลิส : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) เข้าสู่ร่างกายผ่านรอยขีดข่วนหรือบาดแผลเล็ก ๆ บนผิวหนัง หรือเยื่อบุต่าง ๆ เมื่อได้รับเชื้อจะกระจายไปตามกระแสโลหิต
#ทำให้เกิดพยาธิสภาพตามอวัยวะต่าง ๆ ได้- ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ทางปาก จูบ- แม่สู่ลูกน้อยในครรภ์- การรับโลหิตจากผู้ติดเชื้อ- สัมผัสโดยตรงกับแผลผู้ป่วย
#อาการระยะที่ 1 มีตุ่มเล็กๆ แตกเป็นแผลมีน้ำเหลืองระยะที่ 2 มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือทั่วร่างกายระยะแฝง จะมีการดำเนินโรคไปสู่ระยะสามระยะที่ 3 เชื้อเข้าไปทำลายระบบสมองและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ เส้นเลือด
#การป้องกัน1. สวมถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์2. ไม่เปลี่ยนคู่นอน งดมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยง3. สังเกตอาการ ตรวจคัดกรองเมื่อมีความเสี่ยง
#ผลกระทบหากไม่รักษา- เสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบประสาท : การได้ยินผิดปกติ การมองเห็นผิดปกติ โรคความจำเสื่อม- โรคระบบไหลเวียนโลหิต : Stroke, Meningitis, การอักเสบของเส้นเลือดแดงใหญ่
#ข้อสังเกต- ซิฟิลิสไม่ติดต่อจากการใช้ห้องน้ำร่วมกัน สระว่ายน้ำ อ่างน้ำ รับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกัน การสัมผัสของใช้
#สภากาชาดไทย#HealthCare #Training
ขอบคุณ Credit อ้างอิง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการรุณย์
โพสต์โดย จันจิรา สุขพงษ์
3 ก.ค. 2568 14:53 35 views 0 ชวนทุกคน มาดูแลจิตใจตนเองในยามที่เกิดธรณีพิบัติภัย
โพสต์โดย อุทัยวรรณ อำพันขาว
1 เม.ย. 2568 10:24 1843 views 5